รอบรู้เรื่องหิน

ขั้นตอนการผลิตหินอ่อนและหินแกรนิต

คุณรู้ไหม ?.... กว่าจะมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป เพื่อจะนำมาใช้ในงานก่อสร้าง หินอ่อนและหินแกรนิตต้องผ่านขบวนการแปรรูปหลายขั้นตอน นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หินอ่อนและหินแกรนิต มีราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบวัสดุที่ใช้สำหรับปูพื้น และปูผนังอื่นๆ เช่น กระเบื้อง ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนการผลิตหินอ่อนและแกรนิต

ขั้นตอนแรก เป็นขั้นตอนการขุดเจาะหิน จากเหมืองเพื่อป้อนสู่โรงงาน วิธีที่นิยมใช้มี 4 วิธีได้แก่

1. Drilling and Blasting เป็นวิธีที่ใช้หัวเจาะ เจาะหินให้ลึกลงไปตามความกว้าง ความยาวและความลึกตามที่ต้องการ โดยให้มีระบบห่างระหว่างรูเจาะเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลาง ของรูเจาะโดยประมาณ แล้วใช้วัตถุระเบิดชนิดแรงต่ำ บรรจุลงในรูเจาะ การบรรจุวัตถุระเบิดจะต้องบรรจุให้ปริมาณพอสมควร โดยผู้ชำนาญจะบรรจุในปริมาณพอที่จะทำให้หินแยกตัวออกไปเท่านั้น และไม่จำเป็นต้องบรรจุลงไปในทุกรูที่เจาะ ข้อสำคัญคืออย่าให้แรงระเบิดทำให้ผนัง หรือผิวหน้าของหินอ่อนหรือหินแกรนิตที่สกัดออกมามีรอยแตกร้าว วัตถุระเบิดแรงต่ำนี้ผสมขึ้นเอง ประกอบด้วยดินประสิว, กำมะถัน, และถ่านโดยใช้ประกายไฟจากสายชนวนเป็นตัวจุด ก่อนบรรจุวัตถุระเบิดชนิดนี้ลงไปต้องใช้ดินและทรายรองใต้รูเจาะและใส่อัดปิดด้านบนของรูเจาะอีกทีหนึ่ง ด้วยการบรรจุวัตถุระเบิดทั้งหมดนี้ ไม่จำเป็นต้องบรรจุทุกหลุม หรือบรรจุตลอดความลึกของหลุมเจาะ โดยจะต้องประเมินแรงระเบิดให้ดีหากบรรจุระเบิดมากไปจะทำให้ผิวหินที่สกัดออกมาเกิดรอยช้ำและแตกร้าว ซึ่งอาจร้าวลึกไปถึงภายในหินทั้งหมดได้

2. Drilling and Wedging เป็นวิธี การเจาะหินที่เจาะตามแบบเดียวกับวิธีแรก เพียงแต่ไม่ใช้วัตถุระเบิดเป็นแรงสกัด แต่จะใช้เครื่องมือ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้มี 2 ชนิดได้แก่

2.1 ลิ่ม (Wedge) เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นท่อนเหล็กแบบเพลาเครื่องยนต์ ส่วนปลายเรียวมีความยาวประมาณ 15-20 นิ้ว มีขนาดโตพอที่จะใส่ลงไปในรูเจาะได้ เมื่อจะสกัดหินก็ใส่ลิ่มลงไปในที่เจาะไว้เป็นระยะๆ แล้วกระแทกลิ่มลงไปพร้อมๆ กัน จะทำให้หินแตกตามรอยเจาะ

2.2 ไฮดรอลิก (Rock Splitting Machine) ใช้หลักการเดียวกันกับวิธีลิ่ม แต่ใช้เครื่องมือที่ออกแบบโดยนำเอาแรงไฮดรอลิกมาใช้ โดยใส่เครื่องมือนี้ลงในรูเจาะแล้วให้ก้านภายในโครงการลงมือเอง

3. Wire Saw เป็นวิธีการสกัดหินอ่อนหรือหินแกรนิตที่สมบูรณ์ที่สุด คือสามารถตัดหินได้ทั้ง 3 มิติ คือด้าน กว้าง, ยาว, ลึก แต่เมื่อใช้วิธีนี้แล้วจะต้องใช้รถยกหินบล็อกออกมา ซึ่งวิธีนี้จะใช้กับเมืองที่ไฟฟ้าและน้ำใช้ตลอดปี เครื่องมือนั้นประกอบด้วยสายลวดสลิงชนิด Rope Thread ซึ่งมีความเหนียวและคมเป็นพิเศษ โดยใช้การเคลื่อนไหวเพื่อส่งกำลังโดยมอเตอร์ขนาดประมาณ 25 แรงม้า เมื่อต้องการจะตัดหินด้านใด ก็จัดตั้งเสาหลักให้ลวดสลิงผ่านไปบริเวณนั้น โดยปริมาณของลวดสลิงจะต้องพอดีกับแหล่งหินที่จะตัดซึ่งบริเวณหน้าผาหินจะเป็นแหล่งที่เหมาะสมและดีที่สุด และต้องป้อนทราย และน้ำเข้าไปในลวดสลิงด้วย

4. Dimond Wire เทคนิคการตัดหินด้วยลวดเพชรเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้การผลิดหินบล็อกเป็นไปอย่างรวดเร็ว และต้นทุนต่ำ หินบล็อคที่ได้ก็ไม่แตกร้าวรวมทั้งสูญเสียเศษหินน้อย หินบล็อคที่ได้จะมีรูปทรงเป็นก้อนเหลี่ยม พร้อมที่นำมาแปรรูปด้วยเครื่องจักรในโรงงาน เส้นลวดเพชรประกอบด้วยเม็ดเพชรซึ่งเป็นเหล็กรูปทรงกระบอกความยาว 8.5 มม. ภายในกลวงเพื่อสวมเข้ากับลวดสลิง ผิวเคลือบด้วยผงเพชรอุตสาหกรรมมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ ฝังประปรายอยู่บนโลหะจับยึดเม็ดเพชร เส้นผ่าศูนย์กลางรอบนอก 10 มม. นอกจากนี้ประกอบด้วยสปริงและแผ่นเหล็ก (แหวน) คั่นระหว่างเม็ดเพชรและสปริง โดยเส้นลวดเพชรความยาว 1 เมตร จะมีเม็ดเพชรประกอบอยู่ 30-32 เม็ดและเม็ดเพชรเหล่านี้จะทำหน้าที่ตัดหินเมื่อถูกลากให้ขัดสีไปบนเนื้อหิน การใช้ลวดเพชรต้องใช้ประกอบกับเครื่องเจาะรู เพื่อคล้องลวดตามแนวที่ต้องการตัดแล้วนำมาจุดลากด้วยเครื่องปั่นและฉุดลากเพชร ซึ่งสามารถปรับแนวที่เครื่องได้ ทั้งแนวดิ่งและแนวระนาบ และเอียงได้ 360 องศา ขณะที่ใช้งานต้องใช้น้ำฉีดเพื่อหล่อเย็นลวดเพชรไปด้วย มิฉะนั้นผงเพชรจะร้อนและเสื่อมสภาพเร็ว ความยาวของลวดเพชรที่ใช้แต่ละครั้งประมาณ 20-40 เมตร แล้วแต่ความกว้างของแนวตัดในหิน 

ขั้นตอนที่สอง การผลิตหินแผ่น แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนได้แก่

1. Cutting เป็นขบวนการตัดหินบล็อคออกเป็นหินแผ่นใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ

1.1 Block Cutting เป็นการตัดตามแนวดิ่ง โดยเครื่องจักรที่ใช้จะมีใบเลื่อยเพียงใบเดียว (เป็นรูปวงเดือน) ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 90, 100, 120 หรือ 160 cm. การเลื่อยหินแท่งด้วยเครื่องเลื่อยแบบวงเดือน (block cutting) ซึ่งจะได้หินแผ่นออกมาในรูปของหินแผ่นที่มีขนาดหน้ากว้างจำกัดเช่นหน้ากว้าง 30, 40, 60 cm. เป็นต้น ขึ้นอยู่กับขนาดของใบเลื่อยวงเดือนที่ใช้ ส่วนความยาวของหินแผ่นที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับความยาวของหินแท่ง ซึ่งลักษณะหินแผ่นที่มีหน้ากว้างคูณยาวนี้ มักจะเรียกกันว่า strips หรือขนาดหินหน้ากว้าง คูณ L

1.2 Gangsaw เครื่องตัดหินนี้จะต่างกับ block cutting ตรงที่เครื่องจักรชนิดนี้จะใช้ใบเลื่อยลักษณะเป็นแถบ (Strips) จำนวนครั้งละ 35 แผ่นเรียงกัน การเลื่อยหินแท่งด้วยเครื่องเลื่อยแบบ gangsaw เพื่อให้ได้หินแผ่นออกมาเป็นแผ่นขนาดใหญ่ (slabs) เพื่อนำไปใช้งานประเภทเฟอร์นิเจอร์ เช่น หน้าโต๊ะ, เคาน์เตอร์, แผ่นป้าย หรือนำไปตัดซอยเป็นหินแผ่นตามขนาด มาตราฐานที่ต้องการใช้งานภายหลัง

2 Cross Cutting เครื่องจักรนี้จะเป็นการตัดซอยหินแผ่นขนาดใหญ่ ซึ่งได้จากการตัดข้างต้นออกให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า เช่น ขนาด 40x80, 40x60, 40x40 cm. เป็นต้น เครื่องตัดซอยเหล็ก(Cross cutting) เพื่อให้ได้ขนาดตามความยาวที่ต้องการ ในกรณีที่ต้องการหินแผ่นบางหรือมีความหนาเท่ากันทุกแผ่นนั้น เมื่อเลื่อยหินแผ่นด้วยเครื่องเลื่อยวงเดือนตามขนาดความหนาที่ใกล้เคียงกับที่ต้องการแล้ว จะนำมาผ่านเครื่องปรับขนาดความหนา (Diamond calibrator) ก่อนที่จะนำไปผ่านกรรมวิธีขัดต่อไป

3.Dress Polishing เมื่อได้หินตามขนาดที่ต้องการแล้วจะมีการปรับแต่ง เพื่อให้หินอ่อนแต่ละแผ่นมีความหนาเท่ากับ 2 cm. จากนั้นจึงส่งต่อไปยังกระบวนการขัดมัน โดยจะใช้เครื่องขัดซึ่งจะใช้หินขัด (Abrasing stone) มาเป็นอุปกรณ์ (ดังนั้นหินขัดจึงเป็นวัสดุที่จำเป็นอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมแปรรูปหิน) เครื่องขัดนี้จะถูกควบคุมให้ขัดหินจนมันด้วยระบบอัตโนมัติ หลังจากหินที่ถูกขัดมันทั่วทั้งแผ่นแล้วจะถูกส่งไปตัดลายในขั้นต่อไป เมื่อได้หินแผ่นที่ผ่านการเลื่อยด้วยเครื่องเลื่อยแบบ gangsaw แล้ว โดยทั่วไปจะนำแผ่นใหญ่ (slabs) เข้าเครื่องขัดเพื่อผ่านการขัดหยายขัดละเอียด Bridge-Cutting ในกรณีที่ต้องการขนาดหินแผ่นสำเร็จรูปหลายขนาดจากแผ่นใบพวง (Multi-Blades Cutting Line) เพื่อประหยัดเวลาแล้ว ซึ่งเมื่อผ่านขั้นตอนนี้ก็จะได้หินแผ่นตามขนาดที่ต้องการ แต่ต้องคัดแยกลายหรือสีหินที่ต้องการไว้เป็นกรณีไป

4.Choosing and Packing เป็นขั้นตอนสุดท้าย เพราะขั้นตอนที่จะทำการคัดเลือกและควบคุมคุณภาพหิน ก่อนที่จะส่งไปยังลูกค้าการคัดเลือกนี้จะเป็นการคัดหินที่มีตำหนิและไม่กลมกลืนออกไป หรือเป็นการจัดคุณภาพและลักษณะของหินให้อยู่เป็นสัดส่วนเพื่อง่ายต่อการจำหน่ายต่อไป